วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ISUZU D-MAX FULL RACE

ISUZU D-MAX FULL RACE
ISUZU D-MAX รถกระบะที่มียอดขายเป้นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ซึ่งโดยภาพรวม ๆ แล้ว มันคือรถเพื่อการพาณิชย์ แต่ในปีนี้ที่มอเตอสปอร์ตกำลังเฟื่องฟู และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ISUZU จึงได้หันมาบุกตลาดทางด้านมอเตอสปอร์ต ด้วยการเป็นสปอนเซอร์ให้กับนักแข่งมืออาชีพอย่าง อ๊อฟ หทัย ไชยวัณณ์ นักแข่งระดับ Class A ร่วมแข่งขันในงาน SUPER CAR THAILAND ผลงานของเค้านั้นก็อยู่ในอันดับต้น ๆ ของตารางคะแนนสะสม

Engine 4JJ1-TC+GARRETT

4JJ1-TC เครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรล ไดเร็กอินเจ็กชั่น มีเทอร์โบ มีอินเตอร์คูลเลอร์ช่วยระบายความร้อนให้กับอากาศ สแตนดาร์ดมี 146 แรงม้า แรงบิด 294 นิวตัน-เมตร แต่เมื่อกติกาการแข่งขันเปิดให้มีการโมดิฟายได้ รถคันนี้จึงถูกโมดิฟายใหม่ เปลี่ยนเทอร์โบเพิ่มปริมาณอากาศที่ถูกส่งเข้าห้องเผาไหม้ให้เพิ่มมากขึ้น จากนั้นก็เปลี่ยนอินเตอร์คูลเลอร์ให้มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนให้กับอากาศให้มีมากขึ้น จากนั้นก็ทำการใส่เวสต์เกตแยก พร้อมกับปรับบูสต์มือ ควบคุมอัตราการบูสต์ของเทอร์โบ สาเหตุที่ทางอู่หนุ่ม ชลอดีเซล เลือกใช้ปรับบูสต์ที่เป็นแบบปรับบูสต์มือนี้ ก็เพราะว่าสามารถควบคุมได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน
นอกจากทำการโมดิฟายระบบอัดอากาศแล้ว ระบบเชื้อเพลิงก็เป็นสิ่งที่ไม่มองข้าม แต่ด้วยในปัจจุบันนี้เครื่องยนต์ดีเซลส่วนใหญ่เป็นระบบคอมมอนเรล ปั๊มที่ใช้ไม่ใช่ปั๊มแบบกลไก เป็นปั๊มไฟฟ้าควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นยังมีกติกาควบคุม การโมดิฟายระบบเชื้อเพลิงจึงต้องไปโมดิฟายกันที่ส่วนควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง นั่นก็คือกล่อง ECU ที่จะทำการดึงสัญญาณของกล่องเดิมที่จะส่งไปให้หัวฉีดออกมาขยายแล้วถึงส่งกลับไปที่หัวฉีด ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีกล่องประเภทนี้ให้เลือกใช้อยู่มากมายหลายยี่ห้อ แต่กล่องพ่วงที่รถคันนี้ใช้ เป็นกล่องควบคุมของ PEAK POWER ค่าแรงม้าออกมาเท่าไหร่นั้น ระบุไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ทดสอบแบบจริง ๆ จัง ๆ แต่ก็สัมผัสได้ว่ามันแรงขึ้นแบบผิดหูผิดตา
Transmission Manual 5 Speed

ระบบส่งกำลัง รถแข่งต้องเป็นอะไรที่เน้นและชัวร์ การตัด-ต่อ และส่งกำลังต้องฉับไวพร้อมกับมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนั้นรถประเภทนี้ใช้รอบเครื่องที่ค่อนข้างสูงอยู่ตลอด การใช้งานแรงบิดในรอบต้น ๆ จึงไม่ค่อยเน้น ในระบบส่งกำลังจึงทำการโมดิฟายโดยเริ่มจากการลดน้ำหนักฟลายวีลให้เบาลง ทำให้ปลายไหล ถึงต้น ๆ ในช่วงเกียร์ต่ำ แรงบิดจะหายไปบ้าง แต่ก็ไม่มีผลกระทบมากนัก นอกจากนั้นทำการเปลี่ยนชุดคลัตช์ไปใช้ชุดคลัตช์ที่มีประสิทภาพสูงมากขึ้น ตัด-ต่อกำลังงาน ได้ตามต้องการ ในส่วนของเกียร์และเฟืองท้ายนั้น ก็ทำการโมดิฟายแต่ก็อยู่ในกรอบของกติกาบังคับ ทำอะไรได้ไม่มาก แต่ก็สามารถส่งกำลังงานได้ดีและต่อเนื่อง
Suspension Shock Absorber by TRD

สำหรับรถแข่งเซอร์กิต ช่วงล่างมีความสำคัญสูงมาก ต้องตอบสนองได้ดี และไว นอกจากนั้นยังต้องมีความต่อเนื่องในการทำงานสูง ยิ่งเป็นกับรถในเซอร์กิตที่วัดกันด้วยเวลาต่อรอบในการควอลิฟาย ที่จะทำให้อยู่หัวแถวตอนออกสตาร์ท ซึ่งมันมีความหมายถึงการคว้าชัยชนะมาครอง หากไม่มีข้อผิดพลาด การปรับเซ็ตช่วงล่าง หากทำได้ดี คนขับก็จะขับได้ง่าย ผลงานที่ได้ออกมาก็จะดีตามไปด้วย รถคันนี้ก็ได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบช่วงล่างด้วยการดัดแหนบ ทำการเปลี่ยนโช้คอัพเป็นของ AZTEX FORCE ที่สามารถปรับความแข็ง-อ่อนได้ถึง 9 ระดับ ซึ่งโช้ครุ่นนี้มีการปรับระดับความหนืดได้แบบง่ายดาย นอกจากนั้นก็ทำการดัดชุดคอม้าหน้าเพิ่มหน้าสัมผัสระหว่างยางกับพื้นถนนมีค่ามากที่สุดในขณะใช้งานจริง ในส่วนของเบรกนั้น ก็มีการปรับปรุง เปลี่ยนชุดเบรกในล้อหน้าของรถคันนี้ก็ได้เปลี่ยนชุดเบรกเป็นของ JBT และในล้อหลังก็เปลี่ยนเป็นแบบดิสก์เบรกที่มีการตอบสนองได้ไวและดีตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น