1. รถยนต์จะมีอาการวิ่งไม่ออก เหมือนถูกดึงเอาไว้ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
2. จานเบรกจะร้อนมาก อาจทำให้ลูกสูบเบรกแตกได้
3. หลอดไฟเตือนบนมาตรวัด มีอายุการใช้งานสั้นลง และรถยนต์บางรุ่น การถอด-เปลี่ยน หลอดนั้นค่อนข้างยาก จึงทำให้มีค่าแรงในการบริการก็จะสูง
4. น้ำมันเบรกจะมีอุณหภูมิสูง จะทำให้ระบบเบรกเกิดอาการ “เวเปอร์ล็อค” เบรกจะจมหาย ถึงแม้รถยนต์คันนั้นจะมีระบบ ABS หรือไม่ก็ตาม
5. ผ้าเบรกของชุดเบรกมือ หรือ บางรุ่นเป็นชุดเดียวกับผ้าเบรกหลัง จะสึกหรอสูง พร้อมกันนั้นถ้าชุดเบรกมือมีการหลุดภายในก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ (ล้อล็อค)
สาเหตุที่เกิดขึ้น เพราะว่า สุภาพสตรีจะมีการดึงเบรกมือไม่แน่นอนพอ กล่าวคือ จะขึ้นเบรกพอประมาณเท่านั้น โดยคิดว่าเพียงพอแล้ว รถยนต์คงไม่เคลื่อนที่ เป็นการเข้าใจที่ผิด การกระทำเช่นนี้ ผู้ขับขี่อาจจะลืมได้ หมายความว่า ผู้ขับขี่อาจเกิดความเคยชิน หลังจากที่จอดรถแล้วขึ้นเบรกมือเพียงเล็กน้อย เวลาต้องการใช้รถยนต์ เวลาขับเคลื่อน ก็ลืมปลดเบรกมือ แล้วมิได้สังเกตไฟเตือนบนมาตรวัดอีกต่างหาก ก็จะให้เกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้
วิธีการป้องกันปัญหานี้ ไม่ยากเลย เพียงให้ผู้ขับขี่ขึ้นเบรกมือให้แน่นเลย การทำเช่นนี้ ในยามออกตัวของรถยนต์ จะได้รับความรู้สึกว่ารถยนต์ขยับไม่ได้ ผู้ขับขี่ก็จะทราบว่าถูกเบรกเอาไว้ ต่อจากนั้นก็ให้ปลดเบรกมือ เพียงเท่านี้ ท่านก็จะปลอดภัยจากปัญหาดังกล่าว
บางท่านอาจสงสัยว่าในเมื่อดึงแน่นแล้ว เวลาจะเอาลง (ปลด) ยาก แล้วจะทำอย่างไร ? อันนี้ก็ไม่ยากอีกเช่นกัน ให้ทำการดึงคันเบรกมือขึ้นอีก พร้อมกับกดปุ่มตรงปลายคันโยกไปพร้อมๆกัน (ห้ามปล่อย) จังหวะนี้ผู้ดึงจะมีความรู้สึกว่า กดปุ่มที่หัวคันโยกได้โดยง่าย ดังนั้น การเอาเบรกมือลง หรือ ปลดลงจึงเป็นเรื่องง่ายนั่นเอง หมายเหตุ บทความนี้ได้แนะนำเกี่ยวกับเบรกมือที่ใช้ดึงเท่านั้น ที่อยู่บริเวณคอนโซลกลาง มิได้ร่วมเบรกมือชนิด อื่น ดังนั้น ผู้ขับขี่ต้องพิจารณากับรถยนต์ที่ใช้โดยศึกษาได้จากคู่มือรถยนต์รุ่นนั้นครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น