วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทดลองขับ โคโรลล่า อัลติส 2.0

TOYOTA ALTIS 3ZR-FE Dual VVT-I
โตโยต้า จัดให้สื่อมวลชนไทยทดสอบเป็นกลุ่ม ขับคนละสองสามรอบ ทั้งสนามรอบใหญ่เรียบตรง-สลาลอม และเข้าสู่สนามเล็กคดโค้ง โดยมีน้ำฉีดพรมเพื่อให้ทดสอบระบบป้องกันการลื่นไถล วีเอสซี ในวันอังคารที่ 26 พค. 2009 ณ สนามทดสอบไทยบริดสโตน หนองแค พหลโยธิน กม.ที่ 77 ที่มีความครบครันด้วยเงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท
เป็นสนามใหม่ ไม่ใช่สนามเดิมที่อยู่ในบริเวณโรงงานที่ริมถนนพหลโยธินเมื่อไปถึงก็ลงชื่อที่จะขับจัดลำดับกันแล้วเข้าไปนั่งฟังบรรยายข้อมูลของรถโดยเจ้าหน้าที่จากโตโยต้า ต่อมานายสนามอธิบายถึงสภาพของสนามรวมถึงประวัติของสนามแห่งนี้ซึ่งทำให้รู้ว่ามีการเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาทยังไม่มีการเกิดอุบัติเหตุภายในสนามแต่อย่างไร สนามมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากที่ญี่ปุ่นเท่านั้น
คุ้นหน้าคุ้นตากันดี กับนักแข่งอย่างคุณ : Art0, ณัฐวุฒิ, มาณัฐ, อั๋น ศิริคุปต์ เมทะนี

การจัดทดสอบนั้นมีการจัดโดนทีมงานของ ทีอาร์ดี แบ่งเป็นสถานีต่างๆ คือ 1. ทดสอบอัตราเร่ง 0-100 ก.ม./ช.ม.2. การควบคุมรถ handling3. ความเร็วในโค้ง4. ระบบ vsc5. การใช้ Paddle Shift ทางโตโยต้าได้จัดเตรียมรถไว้ 8 คัน โดยแต่ละคันจะมีผู้สื่อข่าว 2 คนนั่งคู่ไปกับ Instructor หรือผู้ฝึกสอนอีกคนไปนั่งด้านหลังรวม 3 คน แบ่งเป็นชุดละ 4 คัน

พร้อมรึยังครับเราไปกันเลยดีกว่ารถพร้อมแล้วโดยอาลองเป็นผู้ขับก่อน โดยมี Instructor นั่งคู่คนขับเพื่อที่จะคอยอธิบายวิธีการขับและจุดต่างๆภายในสนาม โดยที่ผมนั่งทางด้านหลังฝั่งซ้ายคอยสังเกตเส้นทางพร้อมจับอาการของรถไปในตัวผมคงจะพูดอะไรแทนไม่ได้ต้องให้อาลองมาเล่าเองดีกว่าหลังจากนั้นมาถึงเวลาที่ผมจะเป็นผู้ขับบ้างละสลับตำแหน่งกันผมมาอยู่หลังพวงมาลัย ปรับที่นั่งแล้วคาดเข็มขัดเข้าเกียร์ เหยียบคันเร่งออกรถไปนั้น สิ่งแรกที่ผมรู้สึกคือเบาะที่นั่งมันรู้สึกกระชับ และรับกับแผ่นหลังของผมส่วนเบาะรองนั่งถือว่าทำได้ดีขึ้นแต่ก็ไม่ทราบว่าขับทางยาวแล้วจะเมื่อยหรือไม่ต้องลองกันอีกที
สถานีทดสอบอัตราเร่ง
โดยทางที่ทีมงานกำหนดให้จอดรถในจุดที่กำหนดไว้ เมื่อได้รับสัญญาณแล้วให้กดคันเร่งให้สุด เพื่อหาอัตราเร่ง0-100 ก.ม./ช.ม.ผลที่ได้นั้นประมาณ 12 วินาที อัตราเร่งนั้นมีอาการเหมือนรอรอบแต่ไม่มากนักน่าจะเกิดจากการที่ใช้ลิ้นปีกผีเสื้อไฟฟ้ามากกว่า
สถานีทดสอบการควบคุม handling + การเข้าโค้ง
ออกจากสถานีแรกมาเข้าสู่สถานีต่อไปโดยสถานีนี้ให้ใช้ความเร็วประมาณ 60 วิ่งแบบสลาลมหลบไพล่อนจำนวน 8 ตัวที่วางไว้ ผมก็ขับไปพยายามรักษาความเร็วไว้ ในขณะนั้นก็ยังสามารถควบคุมรถได้ อันหมายถึงได้แสดงให้ถึงประสิทธิภาพของช่วงล่างและความแม่นยำของพวงมาลัยไฟฟ้า เลยเกิดนึกสนุกขึ้นมาก็เพิ่มความเร็วขึ้นไปเล็กน้อย พร้อมดึงหรือจะเรียกว่ากระชากพวกมาลัยเลยก็ว่าได้ ทีนี้ระบบ VSC ก็ทำงานขึ้น อ้าวแล้วผมรู้ได้อย่างไรก็มันมีเสียงเตือนดังขึ้นรถก็ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางยังสามารถบังคับควบคุมได้อย่างไม่มีปัญหาพ้นจากไพล่อนตัวสุดท้ายเข้าสู่ช่วงโค้งท้ายสนามเข้าโค้งไปด้วยความเร็วประมาณ 100 กว่าๆเมื่อเข้าแล้วก็เติมคันเร่งรถก็ยังไม่อาการที่แสดงว่าจะอันเดอร์หรือโอเวอร์แต่อย่างใดรถยังคงนิ่งครับจะมีแต่คนนั่งข้างๆที่มีอาการเหวอแทน ฮ่าฮ่าความเร็วที่ทำได้จากโค้งนั้นทำได้ถึง 130 เลยทีเดียวครับ
ทดสอบ VSC
หลุดจากโค้งมาเล็กน้อยก็ผ่อนคันเร่ง พร้อมเหยียบเบรกเตรียมหยุด เมื่อเข้าช่วงทดสอบการทำงานของ VSC โดยให้เราใช้ความเร็วประมาณ 60 วิ่งเข้าในแทรคที่ลื่น มีการรดน้ำให้เปียกตลอดเวลา และป็นทางโค้งขับผ่านเข้าโดยพยายามถือพวงมาลัยไว้ต้องบอกท่านผู้อ่านครับไม่น่าเชื่อครับพื้นที่ค่อนข้างลื่นและเป็นโค้งนั้น วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 60 นั้นระบบ VSC ยังไม่ทำงานครับ ผมก็กดเข้าไปเป็น 70 ครับเสียงก็ดังขึ้นมาครับไม่ใช่เสียง VSC ที่ดังติ้ด ๆๆๆๆ นะ แต่เป็นเสียงอาลองที่ดังมาช่างมันถ้ามันไม่ดังแสดงว่าการเซ็ตระบบช่วงล่างนั้นดีมากครับ
Paddle Shift
การทดสอบโดยใช้ Paddle Shift นั้นต้องเข้าเกียร์ไปที่ต่ำแห่นง S ก่อนถึงจะใช้ตัว +,- ที่พวงมาลัยได้มือขวานั้นเป็น +เพื่อเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น ส่วนมือซ้ายนั้นเป็น – เพื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำลงโดยให้ลองได้ใช้แต่ในช่วงทางตรงเท่านั้น ในโค้งนั้นไม่ได้ใช้มัวแต่คุมพวงมาลัยอยู่พอออกจากโค้งมีช่วงทางตรงก็ได้ลองเหยียบทำความเร็วดูทำได้ถึง 150 ยังเหลืออีกแต่ทางหมดแล้วครับ
บทสรุปส่งท้ายช่วงล่างกับเบรกกับให้รู้สึกที่มั่นใจและจัดได้ว่าเยี่ยม น้ำหนักพวงมาลัยเบาไปหน่อย กับอัตราเร่งนั้นน่าจะทำได้ดีกว่านี้แต่ไม่ถึงกับขี้เหล่ถ้ามีโอกาสไปลองดูครับส่วนอื่นคงไม่นำมาพูดนะครับเพราะอยู่กับรถน้อยมากอีกอย่างแอร์เย็นดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น