RedBull Racing


ในตอนแรกคิดจะหาสปอนเซอร์ในเมืองไทย ก็คือ การบินไทย เพราะมีคำว่าไทยด้วย และเป็นสัญลักษณ์ที่คนรู้จักดี แต่เห็นใจที่การบินไทยประสบปัญหาอยู่ ส่วนบริษัทอื่นๆก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เลยมานั่งคิดว่าเราก็มีความเป็นเจ้าของทีมอยู่แล้ว และถือหุ้นใหญ่เกินครึ่งในเรด บูล คิดว่า เราน่าจะช่วยอะไรบ้านเมืองได้บ้าง ช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์เมืองไทยได้บ้าง จึงคุยกับทางพาร์ทเนอร์ว่ายินดีจะจ่ายเงินค่าใช้จ่ายตรงนี้เป็นการส่วนตัว เขาก็เสนอมาว่าต้องทำอะไรบ้าง คือ มีพีอาร์ในหนังสือ มีโลโก้ จัดงานเลี้ยง ส่วนผมขออย่างเดียวคือ ต้องมีธงชาติไทยติดอยู่บนรถแข่งฟอร์มูล่าวันด้วย
"รู้สึกยังไงบ้างที่ความฝันเป็นจริงแล้ว"?
(ยิ้ม) ภูมิใจมากครับ เมื่อวานนี้เป็นครั้งแรกที่มีธงไทยติดอยู่บนรถฟอร์มูล่าวัน...แถมทีมเรายังได้ถ้วยชนะเลิศในฐานะเจ้าของทีมรถแข่ง "คุณเฉลิม" เข้าไปมีส่วนร่วมเยอะไหมในการทำทีมเราจะปล่อยทีมให้เป็นอิสระ ก็คุยกับพาร์ทเนอร์ตลอด ถ้าเห็นแนวทางอะไรที่สำคัญๆก็มาคุยกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่เข้าไปก้าวก่ายเลย ส่วนใหญ่ผมกับภรรยา (ดารณี อยู่วิทยา) จะไปช่วยให้กำลังใจเท่านั้น
เราเองคอยให้กำลังใจอยู่แล้ว เพราะรู้ว่าทุกคนในทีมพยายามเต็มที่ และเชื่อมั่นว่าเรามีบุคลากรที่ดี ควรปล่อยให้คนที่เป็นโปรเฟส–ชั่นแนลจริงๆทำดีกว่า ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของก็ไม่เคยใช้สิทธิ์บังคับว่าต้องเอาอย่างนั้นอย่างนี้
"ตั้งแต่ทำทีมมา ประทับใจนักแข่งคนไหนเป็นพิเศษ"?
บอกตามตรงว่าที่ผ่านมาก่อนๆไม่ค่อยได้ใกล้ชิดเท่าไหร่ เพิ่งจะมาปีนี้ที่ตระเวนดูการแข่งขันจริงจัง แต่คนที่สนิทสนมมากกว่าเพื่อนคือ "มาร์ค เว็บเบอร์" นักแข่งรถชาวออสเตรเลียน ซึ่งมาอยู่กับทีมเราตั้งแต่ปี 2007 และเพิ่งขึ้นโพรเดียมคว้าถ้วยที่หนึ่งเป็นครั้งแรกในฟอร์มูล่าวัน บริติช กรังด์ปรีซ์ครั้งนี้ เขาเป็นคนน่ารัก คบง่าย เชิญไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยปฏิเสธ ส่วนนักแข่งอีกคนในทีมเรด บูล "เซบาส–เตียน เวทเทล" ก็เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ไฟแรงมากๆ และเป็นคนโปรดของคุณดารณี
"จะไปให้ถึงฟอร์มูล่าวัน ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง"?
ต้องเป็นสุดยอดนักขับจริงๆ ทุกอย่างต้องมีสติ ต้องมีความสามารถ เพราะมันเฉือนกันเพียงแค่เสี้ยววินาที และเรื่องทีมเวิร์กก็สำคัญมาก การแข่งขันแต่ละครั้งต้องใช้คนประมาณ 400 คน ต่อนักขับ 2 คน แต่ถ้าเป็นทีมใหญ่ๆก็ต้อง 500-600 คนขึ้นไป
"ระหว่างนั่งดูฟอร์มูล่าวัน เคยคันไม้คันมืออยากลงไปขับรถแข่งเองไหม"?
คงไม่กล้า (หัวเราะ) เราก็รู้ตัวเรา ถึงจะเป็นคนขับรถเร็วพอสมควร แต่ชอบดูมากกว่า แล้วก็ประทับใจในความสามารถของนักขับกับทีมเวิร์ก รถชน..รถเสีย..ก็สามารถซ่อมกลับมาได้อย่างรวดเร็วทันเวลาที่สุด
"อยากให้เมืองไทยมีสนามรถแข่งบ้างไหมคะ"?
นั่นคือความฝันอย่างหนึ่งของผม!! อยากให้เมืองไทยมีสนามรถแข่งที่ได้มาตรฐาน แต่ถ้าเอกชนลงทุนเองคงไม่คุ้มหรอก ที่จริงแล้วการสร้างสนามรถแข่งถือเป็นการสร้างชื่อเสียงและรายได้เข้าประเทศ อย่างประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น มาเลเซีย, สิงคโปร์ รวมถึงจีน ก็มีสนามรถแข่งแล้ว หรืออย่างอินเดีย และเกาหลีใต้ ก็กำลังสร้างสนามรถแข่ง ผมเชื่อว่าคนไทยรักกีฬารถแข่งมากกว่าประเทศใกล้ๆ เราเสียอีก และคนไทยมีความสามารถที่จะเป็นนักขับระดับโลกได้ ผมก็พยายามสร้างอยู่ ตอนนี้มีเด็กคนหนึ่ง เป็นลูกครึ่งไทย-อังกฤษ ชื่อว่า "อเล็กซ์ อัลบอน" ทางเรด บูล สนับสนุนอยู่ เขาแข่งรถโกคาร์ท และเพิ่งได้เป็นแชมป์รายการ CIK-FIA European
เราตั้งงบด้านนี้ไว้เยอะมาก ปีหนึ่งตกประมาณพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเน้นกีฬาแนวเอ็กซ์ตรีม ทุกอย่างเป็นอะไรที่เราทำมาตั้งแต่แรก เพื่อให้เข้ากับสโลแกนของเรด บูล คือ ทำอะไรก็ต้องทำอย่างจริงจัง เราลงทุนพัฒนานักกีฬาขึ้นมาเอง เริ่มฝึกตั้งแต่เด็กจะเน้นกีฬาที่ใช้สมองมาก กว่าใช้กำลังหรืออย่างกีฬาฟุตบอล เราก็เริ่มสนับสนุนแล้วที่อเมริกา โดยเป็นเจ้าของทีมนิวยอร์ก เรด บูล และเพิ่งสร้างสนามใหม่ที่นิวยอร์ก
"ยังมีอะไรที่อยากทำอีกไหม"?
ก็อยากให้ทีมเรด บูล ได้แชมป์โลกฟอร์มูล่าวัน และอยากให้ คนไทยได้เป็นแชมป์โลกในอนาคต
"ฝากบอกอะไรถึงรัฐบาลไทยไหมคะ"?
อยากให้ส่งเสริมกีฬารถแข่ง และสร้างสนามที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศ และดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเมืองไทย ผมเชื่อว่าคนอยากมาดูรถแข่งที่เมืองไทยมากกว่าไปดูที่อื่น เพราะบ้านเรา มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามเยอะแยะ
"จนถึงวันนี้อยากให้คนจดจำ "เฉลิม อยู่วิทยา" ในฐานะอะไร?
ก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ที่อยากทำอะไรเพื่อส่วนรวมเท่าที่จะสามารถทำได้ เหมือนคุณพ่อที่ยึดถือมาตลอด ท่านสร้างโน่นสร้างนี่ไว้เยอะแยะ โดยเน้นให้ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เน้นการแจก ท่านจะทำโดยไม่หวังผลตอบแทน และไม่จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ตัวเอง ทำทุกอย่างโดยยึดแนวทางการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ซึ่งผมว่าเป็นวิธีที่เหมาะกับประเทศเราที่สุด ไม่ต้อง แข่งขันกัน ต่างคนต่างรู้จักความพอเพียง น่าจะเหมาะสมที่สุด และน่าจะมีเวลาเหลือสำหรับสร้างครอบครัวที่มีความสุข.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น